รายละเอียดหลักสูตร
Mini Management in Lifestyle Medicine (Mini LM)

โครงสร้างหลักสูตร
แบ่งเป็น 3 Modules 22 รายวิชา ประกอบด้วย
Module ที่ 1 Fundamental of Preventive Medicine
- เวชศาสตร์ป้องกันเชิงประยุกต์สำหรับผู้บริหารระบบสุขภาพ
- หลักระบาดวิทยาและการประยุกต์ใช้สำหรับนักบริหารสาธารณสุข และการใช้ชีวสถิติใน Lifestyle Medicine
- การบริหารระบบสุขภาพและการจัดการหน่วยบริการปฐมภูมิ
- นโยบายสุขภาพกับการบริหารสาธารณสุขเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค
Module ที่ 2 Fundamental of Lifestyle Medicine
- เวชศาสตร์วิถีชีวิตและเวลเนสเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศไทย
- หลักการและแนวทางการดูแลผู้ป่วยด้วยหลักการเวชศาสตร์วิถีชีวิต
- โภชนาการกับเวชศาสตร์วิถีชีวิต
- การป้องกันและรักษาโรคอ้วน
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ (Physical Activity)
- การจัดการความเครียดและการทำให้สุขภาพจิตดี (stress management and mental well-being)
- การจัดการเพื่อการนอนหลับที่มีสุขภาพดี
- การจัดการเพื่อการลดละเลิกการสูบบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติด
- Motivation interviewing และเครื่องมือการจัดการเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
- Health Coach
Module ที่ 3 Health Management and Leadership
- การบริหารการเงิน-การคลังในโรงพยาบาลและสถานบริการสุขภาพ
- เศรษฐศาสตร์สาธารณสุขสำหรับผู้บริหารสาธารณสุข
- เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตดิจิตอลสุขภาพ(Digital Health) สำหรับผู้บริหารสาธารณสุขด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิต
- การจัดการบุคลากรสุขภาพและทีมงานเพื่อการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน
- การพัฒนาศักยภาพและภาวะผู้นำของผู้บริหารเวชศาสตร์วิถีชีวิต
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
1.จบปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตและได้รับใบประกอบวิชาชีพทางเวชกรรม
2. มีประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคโดยใช้หลักการของเวชศาสตร์วิถีชีวิต หรือการให้บริการสุขภาพแก่ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ ไม่น้อยกว่า 3 ปี
วิธีการจัดการเรียนการสอน
รูปแบบการเรียนการสอน : Onsite เท่านั้น
ระยะเวลาการฝึกอบรม
การฝึกอบรมจัดครั้งละ 4 วัน (จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี) จำนวน 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 2 เดือน
- ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 28 – 31 สิงหาคม 2566
- ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 11 – 14 กันยายน 2566
- ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 25 – 28 กันยายน 2566
รายละเอียดกิจกรรม
1. บรรยายสรุป
2. อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์
3. กรณีศึกษาและการฝึกปฏิบัติการการดูแลผู้ป่วยโดยใช้หลักการเวชศาสตร์วิถีชีวิตโดยใช้สถานการณ์จำลอง
4. แบ่งกลุ่มย่อยทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน (Problem-based learning)
5. มอบหมายงานเดี่ยว
6. การศึกษาดูงาน และการจัดทำรายงาน
7. สอบรวบยอด
การวัดและการประเมินผลการฝึกอบรม รวม 100%
- งานเดี่ยว 50 %
- งานกลุ่ม 5 %
- การศึกษาดูงาน 5 %
- สอบรวบยอด 35 %
- การมีส่วนร่วมในหลักสูตร 5 %
เกณฑ์การรับประกาศนียบัตรผู้สำเร็จการฝึกอบรม
ผู้เข้ารับการอบรมที่จะมีคุณสมบัติในการรับประกาศนียบัตรหลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิต ดังนี้
1. เข้าร่วมการอบรมไม่น้อยกว่า 80% และ
2. ได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่า 70% และ
3. เข้าร่วมการศึกษาดูงานและร่วมการจัดทำและเสนอรายงานตามที่หลักสูตรกำหนด
4. มีการฝึกปฏิบัติและรายงานกรณีศึกษาผู้รับบริการสุขภาพจำนวนตามที่หลักสูตรกำหนด
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องเข้ารับการปฐมนิเทศ รับฟังการบรรยายสรุป ร่วมศึกษาดูงาน ร่วมทำกิจกรรมกลุ่ม ทำรายงานเดี่ยว และรายงานกลุ่ม ตามที่หลักสูตรกำหนด โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับเอกสารหรือสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ เมื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมผ่านเกณฑ์ตามที่หลักสูตรฯกำหนดในทุกกิจกรรมแล้วจึงจะสามารถเข้ารับประกาศนียบัตรสำเร็จการศึกษาได้